ข้อมูลทั่วไป
 
ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์/พันธกิจ ตราสัญลักษณ์
  • ความเป็นมา คำว่า “แว้ง” มาจากคำว่า “ระแว้ง” มีการเล่าขานกันว่าสมัยก่อน มีชาวบ้านครอบครัวหนึ่ง ชื่อสกุลจริงของผู้นำครอบครัวนั้นไม่มีใครรู้ แต่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเรียกท่านว่า “โต๊ะแวแว้ง” เนื่องจากครอบครัวของท่านได้อพยพมาจากบ้านระแว้ง หมู่ที่ 4 ตำบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นครอบครัวแรกที่มาบุกเบิกและตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่จนกระทั่งท่านโต๊ะแวแว้งเสียชีวิต ณ ที่นี่ (สุสานของท่าน ตั้งอยู่ในบริเวณโรงจอดรถของสถานีตำรวจภูธรแว้งในปัจจุบัน ) ในช่วงของการเริ่มก่อตั้งชุมชนนั้นก็มีบ้านเรือนไม่กี่หลังคาเรือน

    ต่อมาได้มีการทำเหมืองทองโต๊ะโม๊ะบ้านโต๊ะระแว้ง ก็เริ่มมีการเจริญรุ่งเรือง สืบเนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้ได้กลายเป็นท่าเรือ (ซึ่งในอดีตการคมนาคมจะใช้ทางเป็นเรือเป็นหลัก) พ่อค้าแม่ค้าจากปัตตานี บางนรา ตากใบและรัฐกลันตัน มักจะขนส่งสินค้าต่าง ๆ โดยทางเรือ ผ่านเส้นทางบ้านโต๊ะระแว้ง เพื่อนำสินค้าเหล่านั้นไปค้าขายที่บ้านโต๊ะโม๊ะ ซึ่งจะเดินทางมาพักและขนถ่ายสินค้านั้นที่ท่าเรือบ้านโต๊ะระแว้ง ทำให้ชาวบ้านหลายครอบครัวอพยพมาปักหลักตั้งถิ่นฐาน ทำสวนและค้าขายที่บ้านโต๊ะแว้ง แต่ก็มีอีกหลาย ๆ ครอบครัวอพยพมาปักหลักตั้งถิ่นฐานและจับจองพื้นที่ทำไร่ ทำนา ทำสวน สภาพจากชุมชนเล็ก ๆ ก็เปลี่ยนไปเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น คำเรียกชื่อชุมชนค่อย ๆ สั้นจากบ้าน “โต๊ะระแว้ง” กลายเป็นบ้าน “โต๊ะแว้ง” และจากบ้านโต๊ะแว้งกลายเป็น “บ้านแว้ง” ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวมีความเจริญรุ่งเรืองกลายเป็นชุมชนใหญ่ จึงมีการจัดตั้งเป็นตำบลขึ้นมา โดยมีชื่อตำบลว่า “ ตำบลแว้ง ” มาจนถึงปัจจุบัน

    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง

    “ สร้างปัจจัยพื้นฐาน พัฒนาการศึกษา ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สร้างงาน สร้างโอกาส สู่สังคมแบ่งปัน ”

    พันธกิจการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง

    1. การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข็มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น
    2. การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    3. สนับสนุนและส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน
    4. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
    5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
    6. พัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน